วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปกณกพิธี

หมวด 4 ปกิณกพิธี พิธีเบ็ดเตล็ด 
            ได้แก่ พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนา คำถวายทานต่างๆ

ทานพิธี

หมวด 3 ทานพิธี 
การถวายทาน คือ ถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทานด้วยความเต็มใจเรียกว่า “ทานวัตถุ” มี 10 อย่าง 
           1. ภัตตาหาร 
           2. น้ำรวมทั้งเครื่องดื่ม 
           3. ผ้าเครื่องนุ่งห่ม 
           4. ยานพาหนะ สงเคราะห์ปัจจัยค่าโดยสาร 
           5. มาลาดอกไม้เครื่องบูชา 
           6. ของหอม หมายถึง ธูปเทียน 
           7. เครื่องลูบไล้ เช่น สบู่ 
           8. เครื่องที่นอน 
           9. ที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิ วิหาร เป็นต้น 
           10. เครื่องตามประทีป มีเทียน น้ำมัน 

การถวายทานในพระพุทธศาสนามี 2 อย่าง 
           1. ปาฏิบุคลิกทาน หมายถึง ทานที่ถวายเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่ง 
           2. สังฆทาน หมายถึง ทานที่ถวายไม่เจาะจงน้อมถวายเป็นสงฆ์ ให้สงฆ์เฉลี่ยกันใช้สอย หรือ เป็นของส่วนรวมภายในวัด 
ระยะเวลาที่ถวายทานมักนิยมเป็น ๒ คือ 
                      1) กาลทาน หมายถึง ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น เช่น ถวายผ้ากฐิน 
                      2) อกาลทาน หมายถึง ถวายไม่เนื่องด้วยกาล คือ นอกกาล

บุญพิธี


หมวด 2 บุญพิธี 
วันสำคัญกล่าวพุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1. ทำบุญในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ฯลฯ
2. ทำบุญอวมงคล เช่น งานศพ ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ฯลฯ ผู้เกี่ยวข้องในพิธีทั้ง ๒ ประเภทนี้มีผู้เกี่ยวข้อง ๒ ฝ่ายโดยที่แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ ดังนี้
1. หน้าที่ของเจ้าภาพ 
    1.1 นิมนต์พระ 
                 งานมงคล มักนิยมจำนวนคี่ เช่น 5-7-9 รูป ปัจจุบันนิยม 9 รูป (หรือขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่มีอยู่ในแต่ละวัด)
                งานอวมงคล มักนิยมจำนวนคู่ เช่น 4 รูป 10 รูป ถ้าสวดแจงนิยมนิมนต์ 20-50-100 รูป ถ้าสวดมาติกา (สวดก่อนเผา) นิยมนิมนต์เท่าอายุหรือน้อยกว่าก็ได้
                วิธีนิมนต์ ด้วยวาจาหรือทำหนังสืออาราธนา นิมนต์ไปงานอะไร กำหนดเวลา สถานที่ พระกี่รูปจะจัดรถมารับหรือให้ท่านไปเอง ระวังเวลานิมนต์ฉันอย่าระบุอาหารเพราะผิดพระวินัย
1. จัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธี จัดโต๊ะหมู่เก้าอี้สำหรับไว้ต้อนรับแขก
2. จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา พร้อมเครื่องอุปกรณ์ครบชุด
3. ขันหรือบาตรน้ำมนต์ ที่พรมน้ำมนต์
4. สายสิญจน์ สำหรับเวียนรอบบ้านหรือพิธี
5. ปูอาสนะและเตรียมเครื่องต้อนรับพระ (น้ำร้อน น้ำชาตามสมควร)
6. เมื่อพระสงฆ์มาถึง คอยล้างเท้าและเช็ดเท้า
7. เมื่อพระสงฆ์นั่งเรียบร้อยแล้ว ถวายเครื่องรับรอง น้ำร้อน น้ำชา
8. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (แล้วกราบ ๓ ครั้ง)
9. กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
10. อาราธนาศีล
11. อาราธนาพระปริตร (กรณีงานมงคล) พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
12. อาราธนาธรรม (กรณีการเทศน์แสดงธรรม)
13. กล่าวคำถวายสังฆทาน (ในกรณีมีการถวายอาหารเช้าหรือเพล)
14. ถวายภัตตาหารและเครื่องไทยธรรม
15. พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร
16. เสร็จพิธีส่งพระสงฆ์กลับวัด
1.2 การจัดอาหารถวาย
1. เนื้อ 10 อย่าง ต้องห้ามสำหรับพระ คือ เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว หมี เนื้อที่มีขายตามท้องตลาดฉันได้
2. ห้ามของดิบที่ยังมิได้ทำสุกด้วยไฟ เช่น ปลาดิบ เป็นต้น
3. ห้ามเนื้อสัตว์ที่ฆ่าเจาะจง (อุทิศสะมังสะ) ถวายพระ แต่ถ้าพระภิกษุไม่ได้ยินเสียงร้องและไม่ได้สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อเฉพาะเจาะจง ไม่ถือโทษฉันได้
4. ผลไม้ที่มีเมล็ดอาจจะนำไปเพราะขึ้นได้ เช่น มะม่วงให้ปอกเปลือกแกะเมล็ดออก
5. ห้ามอาหารที่มีสุราผสม จนมีกลิ่น สี รส ปรากฏได้ว่ามีสุราปน
1.3 การประเคนของพระก็เพื่อป้องกันการหยิบฉันของที่เจ้าของยังไม่อนุญาต
การประเคน คือ การยกสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค ที่ไม่ผิดพุทธบัญญัติ ด้วยการน้อมถวายให้พระสงฆ์ผู้รับประเคนนั้นด้วยความเคารพ
หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการประเคน
องค์แห่งการประเคน มี ๕ คือ
1. ของที่ประเคนต้องไม่ใหญ่โตและหนักเกินไป เพราะต้องยกสิ่งของนั้นให้พ้นจากพื้น
2. ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส (ช่วงแขนห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก)
3. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของที่จะประเคนนั้นด้วยมือก็ได้ หรือที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายก็ได้ เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย
4. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของที่จะประเคนนั้นเข้ามาด้วยอาการเคารพ น้อบน้อม
5. สำหรับผู้ชายพระรับประเคนด้วยมือได้ แต่ผู้หญิงจะใช้ผ้าทอดรับใช้บาตรหรือจานแทน
1.4 วิธีกรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญและการอนุโมทนา 
การกรวดน้ำ นิยมกระทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงรับไปแล้ว คือ การแผ่ส่วนบุญด้วย การหลั่งน้ำ
วิธีการเกี่ยวกับการกรวดน้ำ
1. น้ำที่ใช้กรวดควรเป็นน้ำสะอาด
2. ใช้ภาชนะสำหรับกรวดน้ำ หรือแก้วน้ำแทน
3. กรวดน้ำเมื่อพระสงฆ์ผู้เป็นประธานเริ่มสวดว่า “ยถา วาริวหา......ไปจนพระสงฆ์สวดถึง มณีโชติระโส ยะถา แล้วพระรูปที่สองขึ้น สัพพีติโย.....ให้รินน้ำให้หมด แล้วประนมมือรับอนุโมทนาไปจนจบ”
4. กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
5. นำน้ำนั้นไปเทโคนต้นไม้ 

กุศลพิธี

ศาสนพิธี แบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ 

หมวด 1 กุศลพิธี 
พิธีเวียนเทียน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ 4 วัน คือ 
          1. วันวิสาขบูชา (วันพระพุทธเจ้า) ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 เป็นคล้ายวันประสูติตรัสรู้ ปรินิพพาน 
          2. วันมาฆบูชา (วันพระสงฆ์) ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 4 ประการ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฎิโมกข์ ท่ามกลางพระสงฆ์ 1,250 รูป ณ เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ 
          3. วันอาสาฬหบูชา (วันพระธรรม) ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 วันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครั้งแรกเป็นวันพระรัตนตรัยครอบองค์ พระอัญญาโกณทัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา 
          4. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า (ปัจจุบันไม่ค่อยได้เวียนเทียนกันในวันนี้)

ศาสนพิธี


ความหมายของคำว่า “ศาสนพิธี” 
          ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนต่างๆที่ดีงาม ที่พึงปฏิบัติในทางพระศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ไห้ ศาสนิกชนทั่วไปได้เห็นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พิธีกรรมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของผู้พบเห็นและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธและคนไทยจะต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี

ประเภทของศาสนพิธี
ศาสนพิธีโดยสรุปแบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ 

1. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญกุศล ได้แก่ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโปสถ พิธีเวียนเทียน เป็นต้น
2. หมวดบุญพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญบุญ ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3. หมวดทานพิธี ว่าด้วย พืธีถวายทาน ได้แก่ ทานวัตถุ ๑๐ อย่าง
4. หมวดปกิณณกะ ว่าด้วย พิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนาคำถวายทานต่างๆ

ประโยขน์ขององค์ประกอบศาสนพิธี 
1. ประโยชน์ทางใจ ช่วยให้เกิดคุณธรรมขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ ได้แก่
          1.1 ความมีสติ
          1.2 ความสามัคคี
          1.3 ความเป็นระเบียบประณีตงดงาม
           1.4 เกิดความชุ่มชื่นเบิกบานใจ
           1.5 เกิดความฉลาด
2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ที่ไม่มีชาติใดเหมือน แสดงถึงความเป็นไท มิใช่ทาสของชาติใด ทั้งยังป้องกันมิให้ชาติถูกลืม ๓. มีส่วนช่วยธำรงพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีเป็นขั้นตอนชักจูงให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้ง เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีใจมุ่งมั่นที่จะศึกษาแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาในขั้นลึกต่อไปได้ด้วยดี 

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ ทางกาย วาจา และทางใจ


การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ ทางกาย วาจา และทางใจ
พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนให้เหมาะสม สงเคราะห์และบูชาพระภิกษุตามควรแก่กาลเทศะ ทั้งนี้เพราะพระภิกษุเป็นสาวกของพระบรมศาสนา ถือว่าผู้มีความประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ทั้งต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคม การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา และระเบียบประเพณีที่เป็นแบบแผนสืบต่อกันมา รวมทั้งช่วยสิ่งเสริมพระภิกษุให้ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนนาน ในอันที่จะก่อประโยชน์ให้แก่สังคม และมนุษยชาติโดยรวมสืบต่อไป

1. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุซึ่งแสดงถึงความเคารพอ่อนน้อม แสดงถึงมารยาทที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระเบียบประเพณี การปฏิบัติตนที่เหมาะสมทางกาย เช่น การลุกขึ้นต้องรับ และยกมือไหว้ เมื่อพระภิกษุมาถึงยังบริเวณพิธีนั้น ๆ การประนมมือฟังพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ การฟังสวดอภิธรรม หรือขณะที่พูดกับพระภิกษุ เป็นต้น การกราบแบบเบญจางคประดิษฐิ์ การถวายสิ่งของให้พระสงฆ์ด้วยการประเคน การเดินผ่านพระสงฆ์ การยืนต้อนรับพระสงฆ์ การนั่งในที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบแผน เป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องไม่แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพอันเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุ ไม่แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามต่อพระภิกษุ ไม่แสดงกิริยาเป็นกันเองสนิทสนมกับพระภิกษุเกินควรแม้จะเคยสนิทสนมกันมาก่อนก็ตาม

2. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางวาจา 

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางวาจา เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น การพูดจากกับพระภิกษุด้วยคำสุภาพนุ่มนวล ใช้คำศัพท์เฉพาะที่พูดกับพระภิกษุให้อย่างถูกต้อง นั่นคือใช้สรรพนามแทนตนเองและแทนพระสงฆ์ในระดับต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดคำหยาบ หรือพูดดูหมิ่นพระภิกษุ และควรเป็นเรื่องที่สมควรหรือเหมาะสมที่จะพูดกับพระสงฆ์ เป็นต้น

3. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ด้วยความเคารพอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่า การคิดคำนึงด้วยใจ (มโนกรรม) เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าความคิดมีพลังมากก็จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมทางกายและวาจาได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมุ่งสอนให้คิดคำนึงในเรื่องที่ดีงาม ที่เป็นกุศล ไม่คิดในแง่ร้ายต่อใคร ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าพระภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง สมควรที่จะให้ความเคารพสักการะ เป็นผู้ที่มีคุณต่อพระพุทะศาสนาและศาสนิกชนอย่างมาก เป็นผู้สืบทอดและธำรงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ยาวนานสืบไป เราจึงควรแสดงความเคารพท่านทางใจทางที่ดีที่สุดก็คือ การเคารพพระภิกษุด้วยใจที่บริสุทธิ์ ได้แก่ การระลึกถึงพระคุณของพระภิกษุแต่ในส่วนที่ดี ตั้งใจที่จะนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติ รองลงมาได้แก่ การไม่คิดที่จะทำให้ท่านยุ่งยากเดือดร้อน คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือคิดที่จะสร้างสรรค์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวย เป็นต้น

4. การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ตามหลักทิศเบื้องหลัง ในทิศ 6
ทิศ 6 คือ ข้อควรปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ได้แก่
1. ปุรัตถิมทิส    คือทิศเบื้องหน้า     มารดาบิดา.
2. ทิกขิณทิส     คือทิศเบื้องขวา      อาจารย์.
3. ปัจฉิมทิศ     คือทิศเบื้องหลัง      บุตรภรรยา.
4. อุตตรทิส      คือทิศเบื้องซ้าย      มิตร.
5. เหฏฐิมทิส     คือทิศเบื้องต่ำ      บ่าว.
6. อุปริมทิส       คือทิศเบื้องบน      สมณ 
พราหมณ์.


1. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน 5 

           ( 1 ) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
          ( 2 ) ทำกิจของท่าน.
          ( 3 ) ดำรงวงศ์สกุล.
          ( 4 ) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
          ( 5 ) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.

มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 5 

          ( 1 ) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
          ( 2 ) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
          ( 3 ) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
          ( 4 ) หาภรรยาที่สมควรให้.
          ( 5 ) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.

3. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕

          ( 1 ) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
          ( 2 ) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
          ( 3 ) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
          ( 4 ) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
          ( 5 ) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.

ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5 

          ( 1 ) จัดการงานดี.
          ( 2 ) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
          ( 3 ) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
          ( 4 ) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
          ( 5 ) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.