วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศาสนพิธี


ความหมายของคำว่า “ศาสนพิธี” 
          ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนต่างๆที่ดีงาม ที่พึงปฏิบัติในทางพระศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ไห้ ศาสนิกชนทั่วไปได้เห็นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พิธีกรรมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของผู้พบเห็นและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธและคนไทยจะต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี

ประเภทของศาสนพิธี
ศาสนพิธีโดยสรุปแบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ 

1. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญกุศล ได้แก่ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโปสถ พิธีเวียนเทียน เป็นต้น
2. หมวดบุญพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญบุญ ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3. หมวดทานพิธี ว่าด้วย พืธีถวายทาน ได้แก่ ทานวัตถุ ๑๐ อย่าง
4. หมวดปกิณณกะ ว่าด้วย พิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนาคำถวายทานต่างๆ

ประโยขน์ขององค์ประกอบศาสนพิธี 
1. ประโยชน์ทางใจ ช่วยให้เกิดคุณธรรมขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ ได้แก่
          1.1 ความมีสติ
          1.2 ความสามัคคี
          1.3 ความเป็นระเบียบประณีตงดงาม
           1.4 เกิดความชุ่มชื่นเบิกบานใจ
           1.5 เกิดความฉลาด
2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ที่ไม่มีชาติใดเหมือน แสดงถึงความเป็นไท มิใช่ทาสของชาติใด ทั้งยังป้องกันมิให้ชาติถูกลืม ๓. มีส่วนช่วยธำรงพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีเป็นขั้นตอนชักจูงให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้ง เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีใจมุ่งมั่นที่จะศึกษาแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาในขั้นลึกต่อไปได้ด้วยดี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น